แทงบอลพรีเมียร์ลีก

ประวัติการแข่งขันฟุตบอล พรีเมียร์ลีก

ประวัติเพิ่มเติม

         เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากรูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป

         ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ เช่น เหตุการณ์เพลิงไหม้อัฒจันทร์วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ที่สนามฟุตบอลของแบรดฟอร์ดซิตีในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์ภัยพิบัติฮิลส์โบโรวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2532 ที่สนามฮิลส์โบโรของเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิต 96 คน นอกจากนี้ ภัยพิบัติเฮย์เซลซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศระหว่างลิเวอร์พูลและยูเวนตุสที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้กลุ่มฮูลิแกนหรืออันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบก็ก่อพฤติกรรมเกะกะระรานหลังจบการแข่งขัน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยสาเหตุส่วนหนึ่งของภัยพิบัติเฮย์เซลก็มาจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน ซึ่งทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะถูกลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย

         ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์โบโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่ารายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้งหมด ห้ามมีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลของคนอังกฤษมานานต้องจบลง รวมทั้งบางแห่งที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัฒจันทร์เดอะค็อปของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและสมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชันหนึ่งหรือดิวิชันสองยังคงมีอัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลงอย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีปิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้ รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคีสมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมสรละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชันหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงินให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้

สนับสนุนโดย G Club 2020 คาสิโนออนไลน์ พนันบอลออนไลน์ ที่มาแรงที่สุด